GO!GO! タイローカル工場

第56回 医療機器製造工場 MEDICUBED COMPANY LIMITED

革新的な歩行訓練機 スペースウォーカーを開発

筋肉の衰えた病人や高齢者の歩行訓練を補助する「スペースウォーカー」は、タマサート大学の修士論文を基に開発された医療機器である。メディキューブ社のワラット・シットラウターウォン氏が、若手起業家向けのスタートアップ基金「TEDファンド」から資金を調達して試作機を製作した。同社はTEDファンドより、研究支援およびプロトタイプの産業機器の構築、医療機器製造工場の設立、マーケティングという3つの面で支援を受けた。  タイでは歩行訓練向けの本格的な医療機器が開発されておらず、改良した杖で歩行訓練が行われているのが現状だ。しかし杖では転倒リスクが高く、安全面に問題がある。スペースウォーカーは、こうした状況に風穴を開けた。開発の経緯について、ワラット氏は次のように語った。  「本当に頼れる歩行訓練機を作ろうと決心し、スペースウォーカーを開発しました。手術後の歩行訓練に最適の機器で、脳血管障害などで筋肉が衰えた人や、高齢者の立つ訓練、歩く訓練に役立っています。これまでタイには存在しなかったイノベーションの成果といえるでしょう。今後、高品質で価格も手が届く範囲の歩行訓練機がタイで普及するきっかけになってほしいです。同じような特徴を持つ外国の理学療法機器の価格は500万バーツと高いのですが、その動作はタイでの使用ニーズを満たしていません。しかし当社では5~6千バーツの価格で、タイの環境に合った製品が作れます。スペースウォーカーはタイの一般的な住宅でも安全に使用でき、日常生活の備品として役立ちます」  スペースウォーカーは現在、病院など60カ所の施設で使われている。遠隔地にも導入され、医療サービスの格差解消にも一役買っている。同社は3カ月間でスペースウォーカーを30~50台製作しており、これまでに約200台を売り上げた。  「全国の医療施設に届けたいという思いもありますが、まずは一般家庭への普及を目標としています。スペースウォーカーは輸入品と比べれば割安ではありますが、一般家庭にとっては重い出費です。この壁を乗り越えて普及を進めるには、レンタルという方法があります。そこで、月額3,000~5,000バーツでレンタルするサービスを提供することを考えています。  将来的にはアセアン地域への普及も視野に入れており、来年には海外進出を予定しています。タマサート大学の研究センターと二人三脚で、機能面をさらに充実させて、立てない人、歩けない人、脳疾患の患者さんの要望など多様なニーズに対応していきます。身体の不自由な人や高齢者の友として、スペースウォーカーを広く普及させたいと願っています」

SPACE WALKER อุปกรณ์ฝึกเดินฝีมือคนไทย นวัตกรรมที่ช่วยยกระดับเทคโนโลยีทางการแพทย์

SPACE WALKER นวัตกรรมที่ใช้ในการช่วยเหลือผู้ป่วยที่มีภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ผู้พิการทางการเคลื่อนไหวรวมถึงผู้สูงอายุ ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ต่อยอดจากวิทยานิพนธ์ของหลักสูตรวิศวกรรมศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เรื่องการออกแบบโครงช่วยฝึกเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน โดยได้รับทุนสนับสนุนจากกระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม ผ่านทางกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม หรือ TED Fund ซึ่งมุ่งขับเคลื่อนและส่งเสริมเยาวชนคนรุ่นใหม่ให้มีองค์ความรู้และดำเนินธุรกิจบนฐานของเทคโนโลยีและ นวัตกรรมในการเปลี่ยนนวัตกรรมเป็นมูลค่าทางเศรษฐกิจ คุณวรัตถ์ สิทธิ์เหล่าถาวร กรรมการผู้จัดการ บริษัท เมดิคิวบ์ จำกัด กล่าวว่า ประเทศไทยยังไม่มีการพัฒนาเครื่องช่วยเดินที่มีระบบพยุงน้ำหนักอย่างจริงจัง ซึ่งมีเพียงไม้เท้า Walker 4 ขา และราวคู่ เมื่อผู้ป่วยเดินส่งผลให้เสี่ยงต่อการหกล้มหรือเกิดความกลัวที่จะล้ม นั่นจึงนำมาสู่การพัฒนาอุปกรณ์ฝึกเดิน หรือ SPACE WALKER ที่มีระบบพยุงน้ำหนักบางส่วนสำหรับผู้ที่มีปัญหาการเคลื่อนไหวด้านการเดิน เพื่อเข้ามาทำหน้าที่ในการช่วยผู้ป่วยที่กำลังฝึกกายภาพบำบัด หลังจากผ่าตัด ซึ่งถือว่าเป็นนวัตกรรมใหม่ที่ยังไม่มีในประเทศไทย โดยเราได้รับทุนสนับสนุนและการให้คำปรึกษาทางด้านการตลาดจากกองทุนพัฒนาผู้ประกอบการเทคโนโลยีและนวัตกรรม (TED Fund) ในการต่อยอดให้มีการใช้งานจริงและขยายสู่เชิงพาณิชย์ กระทั่งล่าสุดเรามีแผนที่จะต่อยอดการสร้างแบรนด์
ชื่อ WOKA ภายใต้ศูนย์วิจัยทางด้านการออกแบบพัฒนาต้นแบบทางวิศวกรรมอย่างสร้างสรรค์ แห่งมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ (CED2) เรามีความตั้งใจอยากให้ผู้คนได้เข้าถึงอุปกรณ์ในการช่วยเหลือและฟื้นฟูที่ดีมีคุณภาพ ในราคาที่เข้าถึงได้ ดังนั้นจึงได้พัฒนา SPACE WALKER อุปกรณ์ฝึกเดินสำหรับฟื้นฟูผู้ป่วยกายภาพบำบัดให้มีคุณภาพเทียบเท่ากับอุปกรณ์ที่นำเข้าจากต่างประเทศ โดยราคาอุปกรณ์กายภาพบำบัดของต่างประเทศที่มีลักษณะใกล้เคียงกันมีราคาสูงถึง 5 ล้านบาท แต่ลักษณะการทำงานไม่ได้ตอบโจทย์การใช้งานในประเทศไทย แต่บริษัทสามารถผลิตได้ในราคา 5-6 หมื่นบาท และออกแบบมาเพื่อตอบโจทย์การใช้งานในประเทศไทย ซึ่งเป็นลักษณะของการฝึกที่บ้านได้อย่างปลอดภัย เพราะเรามองว่าการกายภาพบำบัดต้องมีความต่อเนื่องหรือทำเป็นประจำทุกวัน โดยปัจจุบันได้ผลิตและจำหน่ายไปยัง 60 สถานพยาบาลทั่วประเทศ ช่วยลดความเหลื่อมล้ำทำให้ประชาชนในต่างจังหวัดสามารถเข้าถึงการรักษาได้ง่ายขึ้น โดยเฉพาะผู้ป่วยที่มีปัญหากล้ามเนื้ออ่อนแรงที่ส่งผลต่อการยืน การเดิน และกายภาพบำบัดในผู้ป่วยที่มีอาการต่าง ๆ เช่น โรคหลอดเลือดสมอง อัมพาตครึ่งท่อน พาร์กินสัน บริษัทมีกำลังการผลิตครั้งละ 30-50 เครื่องในช่วงระยะเวลา 3 เดือน ซึ่งปัจจุบัน SPACE WALKER สามารถจำหน่ายไปแล้ว 200 เครื่อง โดยกระจายไปยังสถานพยาบาลทั่วประเทศ แต่เรามองเป้าหมายที่จะขยายตลาดไปยังกลุ่มผู้บริโภคตามบ้านเป็นหลัก ซึ่งแม้ว่าเราจะสามารถพัฒนาอุปกรณ์ฝึกเดินให้มีราคาถูกกว่าการนำเข้าจากต่างประเทศ แต่ต้องยอมรับว่ายังเป็นราคาที่ผู้บริโภคเข้าถึงยาก ดังนั้น เราจึงมีแนวคิดที่จะให้บริการเช่าอุปกรณ์ฝึกเดิน Space Walker ในอัตราเดือนละ 3,000 -5,000 บาท ในเร็ว ๆ นี้ ทั้งนี้ เรามีแผนการดำเนินงานในอนาคต โดยตั้งเป้าส่งออกไปยังตลาดอาเซียน แต่จะต้องดำเนินการด้านมาตรฐานให้เสร็จภายในปีนี้ พร้อมรุกตลาดในประเทศให้ครอบคลุม ก่อนที่จะขยายธุรกิจไปต่างประเทศในปี 2565 อีกทั้งวางแผนจะขยายฟังก์ชั่นการทำงานเพิ่มขึ้น โดยพัฒนาให้ตอบโจทย์คนทุกกลุ่ม เช่น ยืนไม่ได้ เดินไม่ได้อีกทั้งจะขยายสู่กลุ่มผู้ป่วยพิการทางสมอง ส่วนแผนระยะยาวตั้งเป้าจะพัฒนานวัตกรรมที่ตอบโจทย์กับกลุ่มเป้าหมายโรคอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะเป็นการร่วมกับทางหน่วยงานวิจัยของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์โดยจะทำการวิจัยให้ครบทั้งขา แขน และครอบคลุมไปถึงผู้สูงอายุ

21年04月01日掲載

  • Facebook
  • twitter
  • line

関連記事